ผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผ่านกล้อง Endoscope
เทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้พัฒนาจากในอดีตทั้งในแง่ของขนาดแผลความเจ็บของผู้ป่วยความปลอดภัย และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยการผ่าตัดเปิดซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่เลาะกล้ามเนื้อเยอะ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ปวดแผลผ่าตัดมาก และต้องนอนโรงพยาบาลนานกว่า
ในปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีการผ่าตัดโดยใช้กล้องซึ่งเป็นตัวช่วยที่ทำให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้ปลอดภัยขึ้น ขนาดแผลเล็กลง เลาะกล้ามเนื้อน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้เร็วขึ้น
การผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope
ในปัจจุบันกล้องที่ใช้ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังมีอยู่หลายชนิด เหมือนเวลาที่เราถ่ายรูปโดยใช้กล้องมือกับการใช้กล้องถ่ายรูประดับคุณภาพของภาพที่เรามองเห็นจะไม่เท่ากัน เช่นเดียวกับการใช้กล้องในการผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่ว่าศัลยแพทย์จะใช้กล้องลักษณะใดในการผ่าตัดก็สามารถพูดได้ว่าผ่าตัดผ่านกล้องทั้งนั้น
Endoscope
พัฒนาการอีกขั้นเพื่อใช้ในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ข้อแตกต่างระหว่าง Microscope กับ Endoscope คือ Endoscope จากสอดกล้องเล็กๆ เข้าไปในตัวของผู้ป่วย ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นอวัยวะต่างๆของผู้ป่วยได้ชัดเจน และลดขนาดแผลจากเดิมลงเหลือ 0.8 – 1 เซนติเมตร และไม่จำเป็นต้องเลาะกล้ามเนื้อออกเหมือนการผ่าตัดแบบอื่น ศัลยแพทย์สามารถสอดเครื่องมือผ่านกล้องเพื่อทำการผ่าตัดได้เลยโดยการมองจอมอนิเตอร์ที่ฉายภาพจากกล้องที่สอดไว้ในตัวผู้ป่วย การผ่าตัดโดยใช้กล้อง Endoscope สิ่งที่สำคัญคือการฝึกฝน ต้องผ่านการอบรมพิเศษ และการฝึกหัดผ่าตัดกับอาจารย์ใหญ่หลายๆ ครั้งเพื่อสามารถทำการผ่าตัดได้อย่างปลอดภัยและมีผลการรักษาเทียบเท่าการผ่าตัดแบบเปิด
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง endoscope
- ทำงานภายใต้การมองเห็นที่ดี
- มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและกระดูกน้อย
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร เจ็บแผลน้อย และลดเวลาในการนอนโรงพยาบาล
- ลดการเกิดแผลเป็นในโพรงกระดูกสันหลัง ทำให้ถ้าต้องมีการผ่าตัดในครั้งต่อไป เป็นไปด้วยความไม่ยากลำบาก
ข้อบ่งชี้ที่ใช้ในการผ่าตัดผ่านกล้อง endoscope
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Lumbar disc herniation)
- โพรงประสาทตีบแคบทับเส้นประสาท หรือ ที่เรียกกันว่ากระดูกทับเส้นประสาท (Spinal canal stenosis) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขาเพียงข้างเดียว
การดูแลหลังผ่าตัด
- นอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 1-2 คืน
- สามารถลุกเดินได้เลยหลังผ่าตัด
- ในกรณีที่ต้องตัดไหม ตัดไหม 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- ใส่ที่พยุงหลัง (L-S support) เพื่อพักเนื้อเยื่อ และเป็นตัวช่วยเตือนในการจำกัด activity 4 สัปดาห์
- สามารถกลับไปทำงานได้ 2-4 สัปดาห์ แล้วแต่งานที่ทำ
ในปัจจุบันการผ่าตัดโดยวิธีใช้กล้อง endoscope เป็นที่นิยมมากขึ้น และคาดว่าจะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอนาคต โดยวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดึงดูด น่าสนใจ และได้ผลดี แผลผ่าตัดเล็ก บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย อาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อย ใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น ใช้ได้ในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาททุกชนิด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โทร. 0 2109 2222 ต่อ 10122 , 10145
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 1
Website : https://www.bangpakok1.com/
LINE Official Account : https://bit.ly/3Se3n5p