Bangpakok Hospital

รู้ทันอันตรายจาก พลุ และประทัด ช่วงเทศกาล

26 ธ.ค. 2566

รู้ทันอันตรายจาก พลุ และประทัด ช่วงเทศกาล

เมื่อถึงงานเทศกาลทุกคนจะนึกถึงพลุและประทัดของยอดนิยมที่มักจุดกันเพื่อเฉลิมฉลองเทศต่างๆ เพราะชอบสีสันและประกายไฟที่ปรากฏขึ้น ดูสวยงามน่ามอง ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่จุดแล้วทำให้เกิดแสงสว่างและชนิดที่จุดแล้วทำให้เกิดเสียงดัง

แต่หากไม่รู้จักวิธีใช้ที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการจุดพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟ ทำให้ได้รับบาดเจ็บตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อันตรายจากพลุ ประทัด ส่งผลต่อสุขภาพดังนี้

  1. อันตรายจากการได้รับสารเคมี
  • สารโปแตสเซียมเปอร์คลอเรต ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ
  • สารซัลเฟอร์หรือกำมะถัน เมื่อเผาไหม้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้เกิดอาการตาแดง ผิวหนังอักเสบ หายใจขัด เกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจ
  • สารโปตัวเซียมไนเตรต ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และทางเดินหายใจ
  • สารแบเรียมไนเตรต ทำให้เกิดการะคายเคืองต่อหู ตา จมูก และผิวหนัง ทำลายตับ ม้าม และเกิดอัมพาตที่แขน ขา ในบางรายอาจทำให้เสียชีวิตได้
  1. อันตรายจากความดังของเสียงระเบิด ก่อให้เกิดระดับเสียงกระแทกสูงกว่า 130 เดซิเบลเอ มีผลทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว และหากต้องได้ยินติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เกิดอาการหูตึงถาวร 
  1. อันตรายจากความร้อนและแรงระเบิด ทำให้ผิวหนังไหม้และทำให้บาดเจ็บและอาจสูญเสียอวัยวะสำคัญ ซึ่งบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตทำให้ตาบอดหรือนิ้วขาดได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินได้ด้วย

ข้อควรระมัดระวัง

  1. ก่อนจุดประทัดทุกครั้ง ต้องอ่านฉลาก คำแนะนำ วิธีการใช้
  2. ตรวจสอบประทัดให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ได้มาตรฐาน
  3. ควรเก็บประทัดให้ห่างจากประกายไฟ ความร้อน เช่น บุหรี่
  4. สถานที่จุดประทัด ต้องเป็นที่เปิดโล่ง ห่างไกล จากบ้านเรือน ถังแก๊ส
  5. ไม่ควรจุดประทัดครั้งละมากๆ 
  6. ห้ามเด็กๆ จุดประทัดเองโดยเด็ดขาด
  7. ห้ามนำประทัดมาดัดแปลง เล่นผิดประเภท หรือนำมาทุบจนเกิดแรงระเบิดหรือแรงอัดเสียงดัง
  8. ควรห่างจากตัวประมาณ 1 เมตร หรือ 1 ช่วงแขน
  9. ห้ามจุดเล่นในมือ หรือส่วนใดในร่างกาย หรือยื่นหน้าและอวัยวะต่างๆ เข้าไปใกล้ประทัด
  10. ห้ามโยนประทัดใส่กลุ่มคนเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้
  11. ควรสวมเสื้อผ้าที่เป็นผ้าฝ้าย (ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่เป็นใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสทีลีน เพราะอาจติดไฟง่าย)
  12. ควรเตรียมภาชนะที่บรรจุน้ำไว้ เผื่อไว้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ดับชนวนที่จุดแล้วไม่ติด

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับบาดเจ็บ

  1. ถ้ามีแผลฉีกขาด ควรห้ามเลือดด้วยการใช้ผ้าสะอาดพันรอบแผลและกดแผลให้แน่นเพื่อชะลอการไหลเวียนของเลือดและนำส่งโรงพยาบาลทันที
  2. หากดวงตาได้รับบาดเจ็บควรหาอะไรป้องกันดวงตาและพบแพทย์ทันที
  3. หากมีอาการผิวพุพอง ระคายเคืองตามร่างกาย หูอื้อ หรือหูดับ ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนลุกลาม 
  4. ห้ามใช้น้ำมัน โลชั่น ยาสีฟัน หรือสารเคมีอื่นๆ ทาบนแผลเด็ดขาด
  5. หากพบผู้ป่วยหมดสติ หรือเสียเลือดปริมาณมาก ควรรีบโทรเรียกรถพยาบาล หรือโทร 1669

ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
Website : https://www.bpksamutprakan.com/
Facebook : https://www.facebook.com/Bangpakoksamutprakan

LINE Official Account : https://lin.ee/7EFV8ra


Go to top
Copyright © 2021 Bangpakok Hospital All rights reserved.