ดื่มน้ำอย่างไร ลดเสี่ยงไตวาย
ดื่มน้ำอย่างไร ลดเสี่ยงไตวาย
"น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต" เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย และช่วยขจัดของเสียออกทางปัสสาวะทำให้ร่างกายเกิดสมดุลน้ำจะช่วยเจือจางสารพิษที่ไปสู่ไต และการที่เรามีปัสสาวะออกดี ไม่ได้แปลว่า ไตของเราต้องทำงานหนักขึ้น แต่แสดงถึงการขับของเสียที่มีประสิทธิภาพลองเปรียบเทียบกับการล้างภาชนะหรือทำความสะอาดบ้าน อยากให้สะอาดก็ต้องใช้น้ำมากๆ ยิ่งคนที่ไตเสื่อมสภาพ ยิ่งต้องดื่มน้ำให้มาก เพื่อกำจัดของเสียที่คั่งในร่างกาย การดื่มน้ำของแต่ละคนไม่เหมือนกันจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม และควรให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำเสมอเพื่อคงความสมดุลของชีวิตให้แข็งแรง
5 เคล็ดลับการดื่มน้ำช่วยดูแลไต
1. ดื่มน้ำดีต่อร่างกาย
ส่วนใหญ่มักให้คำแนะนำให้ดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน ทั้งนี้ไม่ใช้ทุกคน ปริมาณน้ำที่ควรดื่มนในผู้ชายอยู่ที่ 15.5 แก้ว หรือประมาณ 3.7 ลิตร และในผู้หญิงแนะนำที่ 11.5 แก้วต่อวัน หรือประมาณ 2.7 ลิตร อย่างไรก็ตามในแต่ละคนมีความต้องการน้ำแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ การออกกำลังกาย สภาพอากาศ การเจ็บป่วย การสูญเสียน้ำ การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร เป็นต้น สามารถสังเกตอาการกระหายน้ำ ซึ่งบ่งบอกว่าร่างกายมีอาการขาดน้ำและต้องการน้ำเพิ่มเติม
2. ภาวะที่อาจเกิดจากดื่มน้ำมากเกินไป
พบบ่อยในกลุ่มคนที่มีอาการทางจิตเวช อาจดื่มน้ำปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน หรือกลุ่มนักวิ่งมาราธอนที่ต้องการดื่มน้ำชดเชยปริมาณมาก แม้การทำงานของไตจะเป็นปกติ แต่ก็อาจเกิด “ภาวะน้ำเป็นพิษ” จากการที่มีน้ำเจือจางเกลือโซเดียมในร่างกายจนเกิด “ภาวะเกลือโซเดียมต่ำ” เป็นภาวะอันตรายต่อชีวิต ทำให้เกิดอาการสมองบวมได้
3. ลดการดื่มน้ำบางวันลงได้
กรณีจำเป็นต้องเดินทางและไม่สะดวกเข้าห้องน้ำ เนื่องจากการกลั้นปัสสาวะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นในบางสถานการณ์สามารถผ่อนผันการดื่มน้ำได้ อย่างไรก็ตามเมื่อติดเชื้อทางเดินปัสสาวะการดื่มน้ำมีความจำเป็นในการช่วยขจัดเชื้อโรคออกไปทางปัสสาวะ
4. สีปัสสาวะบอกความต้องการน้ำในแต่ละวันได้
เมื่อปัสสาวะสีเหลืองเข้มบ่งบอกได้ว่าร่างกายขาดน้ำและเมื่อปัสสาวะเหลืองจางลงอาจบ่งบอกได้เช่นกันว่าดื่มน้ำได้เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานยาบางชนิดอาจมีผลต่อสีปัสสาวะเหลืองได้ เช่น วิตามินบีรวมหรือวิตามินบี 2 ฯลฯ
5. จำกัดน้ำอาจจำเป็นบางกรณี
กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังหรือมีโรคน้ำท่วมปอดจากโรคหัวใจจะมีอาการบวมหรือเหนื่อยหอบได้ง่ายจากการที่มีน้ำและเกลือคั่งในร่างกาย นอกจากนี้ความสามารถในการกำจัดน้ำออกจากร่างกายลดลง ดังนั้นการดื่มน้ำปริมาณมากอาจไม่เป็นผลดี แต่การจำกัดน้ำมีความจำเป็น
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 1
Website : https://www.bangpakok1.com/
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok1hospital
LINE Official Account : https://line.me/ti/p/~@bangpakok1hospital
"น้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต" เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย และช่วยขจัดของเสียออกทางปัสสาวะทำให้ร่างกายเกิดสมดุลน้ำจะช่วยเจือจางสารพิษที่ไปสู่ไต และการที่เรามีปัสสาวะออกดี ไม่ได้แปลว่า ไตของเราต้องทำงานหนักขึ้น แต่แสดงถึงการขับของเสียที่มีประสิทธิภาพลองเปรียบเทียบกับการล้างภาชนะหรือทำความสะอาดบ้าน อยากให้สะอาดก็ต้องใช้น้ำมากๆ ยิ่งคนที่ไตเสื่อมสภาพ ยิ่งต้องดื่มน้ำให้มาก เพื่อกำจัดของเสียที่คั่งในร่างกาย การดื่มน้ำของแต่ละคนไม่เหมือนกันจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม และควรให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำเสมอเพื่อคงความสมดุลของชีวิตให้แข็งแรง
5 เคล็ดลับการดื่มน้ำช่วยดูแลไต
1. ดื่มน้ำดีต่อร่างกาย
ส่วนใหญ่มักให้คำแนะนำให้ดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวัน ทั้งนี้ไม่ใช้ทุกคน ปริมาณน้ำที่ควรดื่มนในผู้ชายอยู่ที่ 15.5 แก้ว หรือประมาณ 3.7 ลิตร และในผู้หญิงแนะนำที่ 11.5 แก้วต่อวัน หรือประมาณ 2.7 ลิตร อย่างไรก็ตามในแต่ละคนมีความต้องการน้ำแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ การออกกำลังกาย สภาพอากาศ การเจ็บป่วย การสูญเสียน้ำ การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร เป็นต้น สามารถสังเกตอาการกระหายน้ำ ซึ่งบ่งบอกว่าร่างกายมีอาการขาดน้ำและต้องการน้ำเพิ่มเติม
2. ภาวะที่อาจเกิดจากดื่มน้ำมากเกินไป
พบบ่อยในกลุ่มคนที่มีอาการทางจิตเวช อาจดื่มน้ำปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน หรือกลุ่มนักวิ่งมาราธอนที่ต้องการดื่มน้ำชดเชยปริมาณมาก แม้การทำงานของไตจะเป็นปกติ แต่ก็อาจเกิด “ภาวะน้ำเป็นพิษ” จากการที่มีน้ำเจือจางเกลือโซเดียมในร่างกายจนเกิด “ภาวะเกลือโซเดียมต่ำ” เป็นภาวะอันตรายต่อชีวิต ทำให้เกิดอาการสมองบวมได้
3. ลดการดื่มน้ำบางวันลงได้
กรณีจำเป็นต้องเดินทางและไม่สะดวกเข้าห้องน้ำ เนื่องจากการกลั้นปัสสาวะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นในบางสถานการณ์สามารถผ่อนผันการดื่มน้ำได้ อย่างไรก็ตามเมื่อติดเชื้อทางเดินปัสสาวะการดื่มน้ำมีความจำเป็นในการช่วยขจัดเชื้อโรคออกไปทางปัสสาวะ
4. สีปัสสาวะบอกความต้องการน้ำในแต่ละวันได้
เมื่อปัสสาวะสีเหลืองเข้มบ่งบอกได้ว่าร่างกายขาดน้ำและเมื่อปัสสาวะเหลืองจางลงอาจบ่งบอกได้เช่นกันว่าดื่มน้ำได้เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานยาบางชนิดอาจมีผลต่อสีปัสสาวะเหลืองได้ เช่น วิตามินบีรวมหรือวิตามินบี 2 ฯลฯ
5. จำกัดน้ำอาจจำเป็นบางกรณี
กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังหรือมีโรคน้ำท่วมปอดจากโรคหัวใจจะมีอาการบวมหรือเหนื่อยหอบได้ง่ายจากการที่มีน้ำและเกลือคั่งในร่างกาย นอกจากนี้ความสามารถในการกำจัดน้ำออกจากร่างกายลดลง ดังนั้นการดื่มน้ำปริมาณมากอาจไม่เป็นผลดี แต่การจำกัดน้ำมีความจำเป็น
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่นๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 1
Website : https://www.bangpakok1.com/
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok1hospital
LINE Official Account : https://line.me/ti/p/~@bangpakok1hospital